^Back To Top

ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9

Facebook องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง

สถิติผู้ใช้บริการ ศูนย์ข้อมูลฯ

857551
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
176
380
556
855314
9632
11561
857551

Your IP: 172.70.175.67
2024-03-19 10:53

พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

หนังสือกรมส่งเสริม

 บทความ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ

พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก

 

พ.ร.บ.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม

 อื่นๆ

 

 

 

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2540                  กำหนดสิทธิของประชาชนในการได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการพร้อมกับการกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการข้อมูลข่าวสารของราชการแก่ประชาชนโดยคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้มีมติกฎกระทรวงและประกาศคณะกรรมการฯกำหนดรายละเอียดให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติ

 

network1

 หลักการและเหตุผล:

 ในระบอบประชาธิปไตย การให้ประชาชนมีโอกาสกว้างขวางในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับความเป็นจริง อันเป็นการส่งเสริมให้มีความเป็นรัฐบาล

โดยประชาชนมากยิ่งขึ้น สมควรกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยมีข้อยกเว้นอันไม่ต้องเปิดเผยที่แจ้งชัดและจำกัดเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติหรือต่อประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคงและจะยังผลให้ประชาชนมีโอกาสรู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะปกปักรักษาประโยชน์ของตนได้อีกประการหนึ่งด้วย ประกอบกับสมควรคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการไปพร้อมกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

เจตนารมณ์หรือวัตถุประสงค์ของกฎหมาย:

เจตนารมณ์หรือวัตถุประสงค์ของการจัดให้มี พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 คือ

1. รับรองสิทธิได้รู้ หรือได้รับทราบของประชาชน (Right to Know) ภายใต้หลักการ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น”  

    1.1 การปกป้องประโยชน์ส่วนบุคคล

    1.2 การปกป้องประโยชน์ส่วนสาธารณะ

2. การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารสำคัญภายใต้หลักการ “ความจำเป็นในการคุ้มครอง” คือ

    2.1 การคุ้มครองความลับของทางราชการ โดยมีระเบียบกำหนดไว้แน่ชัดว่าข้อมูลข่าวสารใดจะกำหนดชั้นความลับได้บ้าง

    2.2 การคุ้มครองประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน เช่น ความลับทางการค้าสูตรผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีการผลิต ฯลฯ

    2.3 การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ภายใต้หลักการ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น”

    2.4 มิให้มีการละเมิดซึ่งจะกระทบต่อสิทธิผลประโยชน์ส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัว (Privacy)

ปรับปรุง โดย: จักรพงษ์ กาวงศ์